mostbet casinoaviator mostbetmostbetlucky jet casino1win casino1win aviatorlucky jetmostbet aviator loginmostbet indiapin up casino game1win slots1 win onlinelackyjet1winpin up 777mostbet kzpinuppin up casinomosbetmostbetpin-upparimatch1 winmostbet onlinemostbetluckyjeyparimatchmosbet kz4a bet1win kzmosbetlucky jet crash4rabet casinopin up kzpinup1 win4r betpin upaviatorpinup kz4rabet1 win1win slotmostbet1 вин авиатор1 win casinomostbet casino1win cassinomosbet aviatorpin-up1win sayti

มอเตอร์มาตรฐาน IEC / NEMA

ปัจจุบันมอเตอร์ไฟฟ้าชนิดเหนี่ยวนำ 3 เฟส ที่มีการใช้งานอย่างแพร่หลายในประเทศไทยจะแบ่งตามมาตรฐานการผลิตได้เป็น 2 ประเภท คือ มาตรฐาน IEC และ มาตรฐาน NEMA ผู้ใช้งานควรจะทราบว่ามอเตอร์ที่ใช้งานอยู่หรือมอเตอร์ที่ต้องการจัดหานั้นเป็นมอเตอร์มาตรฐานอะไร เพื่อนำไปสู่การเลือกมอเตอร์มาใช้งานให้ตรงตามความต้องการ โดยทั้ง 2 มาตรฐานจะมีความแตกต่างกัน ซึ่งพอจะสรุปได้ดังนี้

1. มอเตอร์มาตรฐาน IEC (International Electrotechnical Commission)
– มีการใช้งานอย่างแพร่หลายในประเทศไทยมากกว่า 90%
– มีการใช้งานอย่างแพร่หลายใน 67 ประเทศทั่วโลก
– พิกัดกำลังขาออกนิยมแสดงเป็น kW (โดยทั่วไป)
– Service Factor = 1.0 (โดยทั่วไป)
– ระดับประสิทธิภาพ IE1,IE2,IE3,IE4
– ออกแบบที่การใช้งาน 220-240/380-415V, 380-415/660-690V 50 Hz.
– ระบบของหน่วยวัด : kg , mm
– ขนาดเฟรม เช่น 71, 80, 90, 100, 112, 132 . . . . 315 (ขนาดเฟรมของมอเตอร์มาตรฐาน IEC จะบ่งบอกถึงความสูงจากพื้นถึงกลางเพลามีหน่วยเป็น mm)

2. มอเตอร์ NEMA
– มีการใช้งานในประเทศไทยบ้างเป็นบางส่วน ส่วนมากจะติดตั้งมากับเครื่องจักรที่นำเข้ามาจากประเทศสหรัฐอเมริกา
– นิยมใช้ในประเทศสหรัฐอเมริกา แคนาดา และแม็กซิโก
– พิกัดกำลังขาออกนิยมแสดงเป็น แรงม้า (HP)
– Service Factor = 1.15 (โดยทั่วไป)
– ระดับประสิทธิภาพ NEMA Energy Effcient (IE2) EPAct
NEMA Premium (IE3) EISA
– แรงดันและความถี่ทางไฟฟ้า : 230V, 440-480V, 575V 60 Hz.
– ขนาดเฟรม เช่น 56,145,182,215…… (ขนาดเฟรมของมอเตอร์มาตรฐาน NEMA จะบ่งบอกถึงความสูงจากพื้นถึงกลางเพลา โดยจะต้องนำตัวเลข 2 ตำแหน่งแรกหารด้วย 4 เช่น เฟรม 182 , ความสูงจากพื้นถึงกลางเพลาจะมีค่าเท่ากับ 18/4 = 4.5 นิ้ว)




จะเห็นได้ว่ามาตรฐานการผลิตมอเตอร์ทั้ง 2 ชนิดจะมีความแตกต่างกันในรายละเอียดพอสมควร โดยทั่วไปหากมีขนาด kW และความเร็วรอบที่เท่ากัน เราจะสามารถนำมอเตอร์ทั้ง 2 มาตรฐานมาใช้งานแทนกันได้ แต่สำหรับการนำมอเตอร์มาติดตั้งแทนที่ตัวเดิมหากเป็นมาตรฐานที่ต่างกันอาจจะไม่สามารถนำมาเปลี่ยนเพื่อทดแทนตัวเดิมได้โดยทันที เนื่องจากมักจะมีขนาดมอเตอร์ ขนาดเพลา ขนาดรูยึดที่ไม่เท่ากัน ซึ่งอาจจะต้องมีการปรับปรุงหรือดัดแปลงแท่นเดิมเพื่อให้สามารถรองรับการใช้งานได้

Leave a comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *